อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
โหมดการเข้าถึงสำหรับผู้พิการ
ปรับขนาดตัวอักษร
ภาษา
ประวัติความเป็นมา
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานสำคัญของท้องถิ่น
ที่ตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลคลองฉนวน เป็นตำบลหนึ่งใน 5 ตำบลของอำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของที่ว่าการอำเภอเวียงสระ และอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอโดยทางรถยนต์เป็นระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร

อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลทุ่งหลวง อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลเขานิพันธ์ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลดุสิต อำเภอถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช
ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลสินปุน อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

เนื้อที่
องค์การบริหารส่วนตำบลคลองฉนวนมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 90 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ     56,250 ไร่ คิดเป็นร้อยละ  21.18  ของพื้นที่ทั้งอำเภอเวียงสระ

ภูมิประเทศ
สภาพโดยส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มพื้นที่บางส่วนเป็นภูเขาสลับกับที่ราบสามารถสรุป ลักษณะภูมิประเทศของตำบลได้ดังนี้
(1) ภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มบริเวณแม่น้ำลำคลอง ได้แก่พื้นที่ในหมู่ที่ 6 , 7 , 11,12
(2) ภูมิประเทศเป็นที่ราบเหมาะแก่การทำนาและทุ่งเลี้ยงสัตว์ ได้แก่พื้นที่ในหมู่ที่ 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , 9 , 10
(3) ภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับกับที่ราบ ได้แก่พื้นที่ในหมู่ที่ 8

ภูมิอากาศ
สภาพอากาศโดยทั่วไปของตำบล เป็นแบบมรสุม มี 2 ฤดู คือ
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม - เมษายน มีอุณหภูมิเฉลี่ย 28 – 40 องศาเซลเซียส
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - ธันวาคม มีอุณหภูมิเฉลี่ย 25 – 28 องศาเซลเซียส และมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 400 มิลลิเมตร / ปี

--- ไม่มีข้อมูล ---

วิสัยทัศน์

"เศรษฐกิจดี สังคมน่าอยู่ สาธารณูปโภคครบถ้วน กระบวนการบริหารโปร่งใส–ทันสมัยการศึกษา พัฒนาสิ่งแวดล้อม"

พันธกิจ

พันธกิจการพัฒนาท้องถิ่น
พันธกิจที่ 1 จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
พันธกิจที่ 2 ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
พันธกิจที่ 3 ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
พันธกิจที่ 4 คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
พันธกิจที่ 5 ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร
พันธกิจที่ 6 ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ
พันธกิจที่ 7 บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพราษฎร

จุดมุ่งหมาย

จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา
1. การคมนาคมมีความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
2. สาธารณูปโภค ขยายระบบครอบคลุมพื้นที่เพิ่มมากขึ้น
3. สุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น
4. ยกระดับการศึกษาให้ทันสมัย
5. ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้รับการสนับสนุนให้สืบทอดต่อไป
6. ชุมชนมีความสะอาด และมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
7. มีแหล่งน้ำที่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน